เมื่อพูดถึงข้อสะโพก หลายคนอาจไม่คุ้นเคยและไม่รู้ว่าทำหน้าที่อะไร ข้อสะโพกเป็นข้อหนึ่งในร่างกายที่ต้องรับน้ำหนักของตัวเรามากที่สุด เป็นรอยต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานกับกระดูกต้นขา ทำหน้าที่งอและเหยียดเวลาเดิน วิ่ง นั่ง นอน
โรคข้อสะโพกเสื่อม คืออะไร “โรคข้อสะโพกเสื่อม” เป็นรูปแบบของข้ออักเสบที่เกิดจากกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อเสื่อมสลายไป จนทำให้เกิดการปวดและข้อติดขัด อาจมีอาการรุนแรงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การขึ้นลงบันได การแต่งตัว หรือแม้แต่การนอนหลับ
อาการของโรคข้อสะโพกเสื่อม
การสังเกตอาการเพื่อดูว่าตนเองมีอาการของโรคข้อสะโพกเสื่อม
- เบื้องต้นจะมีอาการปวด มีการติดขัดเวลาเคลื่อนไหว
- สำหรับผู้ที่เป็นมาสักระยะจะมีอาการปวดสะโพกเรื้อรังทั้งในขณะขยับตัวและตอนนอนหลับ รู้สึกตึงเมื่อลุกนั่งเจ็บเวลาเดินลงน้ำหนัก และขึ้นลงบันไดไม่สะดวก
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค หลายคนคิดว่าโรคข้อสะโพกเสื่อมมักเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ความจริงแล้วโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกวัย ซึ่งสาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อมเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้
- พันธุกรรม
- อายุ
- การขาดเลือดไปเลี้ยงที่หัวกระดูกต้นขา
- การติดเชื้อ
- การบาดเจ็บบริเวณข้อสะโพก
- ความผิดปกติของข้อสะโพก
วิธีการรักษาผู้ที่เป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม
- เริ่มจากการตรวจซักประวัติอย่างละเอียดว่ามีการปวดสะโพก อาการติดขัดบริเวณสะโพกอย่างไรบ้าง
- หลังจากนั้นจึงตรวจโดยวิธีการเอกซเรย์ หากยังไม่ได้ผลที่ชัดเจนจะใช้วิธีการตรวจเพิ่มเติมโดยเครื่อง MRI Scan ช่วยในการวินิจฉัยให้ได้ผลที่ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
การรักษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
การรักษาโดยไม่ผ่าตัด เริ่มจากพักการใช้งานสะโพก การพักผ่อนให้เพียงพอ ทำกายภาพบำบัดบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอย่างต่อเนื่อง และการรับประทานยาแก้ปวด
- ตามอาการ ส่วนใหญ่ถ้าสะโพกมีความเสื่อมไม่มาก คนไข้ก็จะมีอาการดีขึ้นได้รวดเร็ว
การรักษาโดยวิธีผ่าตัด โดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ในกรณีที่คนไข้มีภาวะความเสื่อมมาก ข้อสะโพกผิดรูป และมีอาการเจ็บปวดรุนแรง จนเป็นอุปสรรคต่อการ - ดำเนินชีวิต เช่น เดินไม่ได้ หรือมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ
“ปัจจุบันการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมจะเป็นวิธี Minimal Invasive Surgery ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก และไม่ได้ตัดกล้ามเนื้อมาก ทำให้เจ็บปวดน้อยลงเสียเลือดน้อยกว่าสมัยก่อน ช่วยให้การฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วขึ้น ในผู้ป่วยเกือบทุกรายสามารถลุกเดินได้วันรุ่งขึ้นหลังจากการผ่าตัด และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม”